พ่อของแผ่นดิน

พ่อของแผ่นดิน

วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ฝึก “ปั่น” จักรยานเสือภูเขา


เห็พี่เสือหลายท่านเริ่มปร้อแปร้..เจอบทความ เลยเอาฝาก....
ขอบคุณข้อมูลดีๆๆ จาก WEEKENDHOBBY ด้วยน่ะคร้าบ..

บทเรียนที่หนึ่ง
ในครั้งแรกที่คุณได้มีโอกาสขี่จักรยานที่ได้รับการปรับตำแหน่งในการขี่ที่ ถูกต้อง ห้ามใช้เวลาอยู่บนอานจักรยานเกินกว่าครึ่งชม. ไม่มีการยกเว้นแม้แต่คุณจะใส่กางเกงขี่จักรยานโดยเฉพาะก็ตาม เนื่องจากสรีระของทุกคนจะต้องอาศัยเวลาในการปรับตัวให้เข้ากับเบาะและ ตำแหน่งนั่งบนจักรยาน อย่าเพิ่งตะบี้ตะบันขี่นานๆ นอกจากจะเจ็บตัวแล้ว ยังทำให้เกิดอาการแหยงไม่อยากขี่จักรยานอีกด้วย
หลักง่ายๆก็คือใช้นาฬิกาตั้งเวลาไว้15นาที แล้วก็ขี่จักรยานออกไปเรื่อยๆ ครบ15นาทีตรงไหนก็ขี่กลับเส้นทางเดิม ถ้าไม่แวะไปเถลไถลที่ไหนก็จะใช้เวลาขี่ราวๆครึ่งชั่วโมงพอดี เราจะใช้เวลาบนจักรยานวันละครึ่งชั่วโมงนี้ประมาณ 4-5 วันหรือถ้าใครมีเวลาเยอะหน่อยก็ซ้ำเป็น 6 วันติดๆกันเลยก็ดี แต่หลังจากหมด 4-6 วันแรกนี้แล้วขอบังคับให้หยุดขี่ เอาโซ่ล่ามจักรยานไว้เลย 1-2 วันเพื่อเป็นการพักร่างกาย
หลักการปั่นจักรยาน
อันนี้เป็นหลักการ “ปั่น” จักรยานที่ถูกต้อง ใช้ประกอบตั้งแต่บทเรียนที่หนึ่งไปจนจบหลักสูตรพื้นฐานเลย เคยสังเกตุบ้างไหมว่าเวลาพูดชวนกันไปขี่จักรยาน หลายๆคน(โดยเฉพาะผู้สูงอายุ)มักใช้คำว่า “ไป ‘ถีบ’ จักรยานกัน” ลองมาดูความแตกต่างของสองคำนี้จะรู้ได้เลยว่ามันผิดกันที่ “ความเร็ว”ของขา เวลาเราขี่จักรยานให้ถูกต้องจึงต้องซอยขาปั่นกันยิกๆ ไม่ใช่ “ถีบ”ไปเรื่อยๆ แล้ว ต้องซอยขากันเร็วแค่ไหนล่ะ? ตามสูตรที่ฝึกก็คือ 80 รอบต่อนาที วิธีหัดก็คือขี่จักรยานด้วยเกียร์ต่ำ(ออกแรงขาน้อย แต่จักรยานไม่ค่อยวิ่ง ถ้าจักรยานของคุณมีเลขบอกเกียร์ที่มือสับเกียร์ ก็ลองปรับให้มือสับข้างซ้ายอยู่เลข2 มือสับข้างขวาอยู่เลข3) ขี่จักรยานด้วยความเร็วพอสมควร แล้วเริ่มจับเวลา(จะด้วยนาฬิกาข้อมือ,มาตรวัดความเร็วที่ติดจักรยาน หรือนาฬิกาแบบไหนก็ตามสะดวก) ใช้หัวเข่าขวาเป็นหลัก ทุกครั้งที่เข่าขวาขึ้นมาสุดก็ให้นับ 1 ขึ้นมาสุดอีกครั้งนับ2 ไปเรื่อยๆ จนครบ 15 วินาที นับได้กี่ครั้งก็คูณด้วย 4 จะได้จำนวนครั้งต่อนาทีที่ขาเราปั่นจักรยาน ก็มาดูว่าถ้าเกิน 80 ก็ชะลอขาลงหน่อยนึงแล้วก็นับใหม่อีก 15 วินาที หรือน้อยกว่า80ก็ซอยขาปั่นเร็วขึ้นอีกหน่อยนึงแล้วก็นับใหม่อีก 15 วินาที ลองจนกว่าจะนับเข่าขวาขึ้นมาสุดได้ 20 ครั้งใน 15 วินาที(ก็เท่ากับ 80 รอบต่อนาที) ก็ให้ปั่นด้วยความเร็วคงที่ขนาดนั้นไปให้ตลอดโดยไม่มีการเปลี่ยนเกียร์ ถ้าใครไม่มีมาตรวัดความเร็วติดจักรยานก็คอยเช็คด้วยการจับเวลานับหัวเข่า อยู่เรื่อยด้วยนะคะ เพราะหัดปั่นขาเร็วขนาดนี้สำหรับคนไม่เคยจะบอกกันเป็นเสียงเดียวว่า “เหนื่อยจัง” แล้วก็จะผ่อนความเร็วลงไปเพราะความไม่ชิน(ซึ่งเป็นกันทุกคน โดยเฉพาะช่วงสัปดาห์แรกนี้) แต่เชื่อไหมว่าคนที่ใช้หลักสูตรนี้เดี่ยวนี้ปั่นกันเป็นปรกติที่ 85-90 รอบต่อนาทีกันทุกคน โดยไม่มีใครบ่นว่าเหนื่อยหรือเร็วไปซักคนเลย ขอให้ตั้งใจทำความเคยชินกับการซอยขาที่ 80 รอบต่อนาทีนี้ให้ได้นะคะเพราะสำคัญมาก ซึ่งโดยส่วนใหญ่ถ้าตั้งใจกันแล้วก็จะคุ้นเคยในเวลาแค่ไม่เกินสัปดาห์เดียว ขาเราก็จะเคยชินกลายเป็นความจำโดยอัตโนมัติ คราวนี้แทบไม่ต้องนับหัวเข่ากันเลยค่ะ

การปฏิบัติสำหรับบทเรียนที่หนึ่งนี้คือ

- เลือกใช้เกียร์ให้ถูกต้อง(มือสับเกียร์ข้างซ้ายอยู่เลข2-จานกลาง/มือสับเกียร์ ข้างขวาอยู่เลข 2 หรือ 3) แล้วก็ใช้เกียร์นั้นไปตลอดโดยไม่มีการเปลี่ยนเกียร์
- ปั่นขาที่80รอบต่อนาทีให้ตลอดเวลา โดยไม่มีการฟรี หรือ หยุดรถ(ถ้าไม่จำเป็น) จนกว่าจะครบเวลา (ในสัปดาห์แรกนี้ก็คือครึ่งชั่วโมง)
- หัดปั่นในทางราบ ไม่มีเนินเขา จะได้ไม่ต้องเปลี่ยนเกียร์ สามารถปั่นขาที่ความเร็วคงที่,ออกแรงได้คงที่ ได้ตลอดเวลา
- ออกไปฝึกปั่นแต่ละครั้งอย่าใช้เวลามากกว่าครึ่งชั่วโมงสำหรับสัปดาห์แรกนี้ ถนอมส่วนพึงสงวนกันไว้ก่อนเถอะค่ะ ถ้าระบมเดี๋ยวจะฝึกขี่กันได้ไม่ต่อเนื่อง
- ให้เวลาในการฝึกช่วงแรกนี้ 4-6 วัน ถ้าสามารถฝึกติดต่อกันได้ทุกวันจะทำให้ร่างกายชินกับจักรยานได้เร็วขึ้น จากนั้นพักการฝึก 1-2 วันโดยไม่มีการขึ้นขี่จักรยานเลย เป็นการจบการฝึกในช่วงแรก
- สัปดาห์ที่สองใช้เกียร์เดิม ปั่นขาที่ 80 รอบต่อนาทีเท่าเดิม แต่เพิ่มเวลาในการขี่เป็นวันละไม่เกิน 1 ชม.(อย่าน้อยกว่า 45 นาที คงจะเจียดเวลาได้นะคะ) ฝึก 4-6 วันเหมือนเดิม แล้วก็หยุดพัก 1-2 วัน เป็นอันจบบทเรียนที่หนึ่ง

คำแนะนำสำหรับสองสัปดาห์แรกนี้

- จักรยานของคุณมีกี่เกียร์ลืมไปก่อนเลยค่ะ ใช้เกียร์ที่แนะนำให้ไปก่อน อย่าเพิ่งเล่นเกียร์
- เวลาขี่ให้หลังตรงอยู่เสมอ แล้วโน้มตัวไปหาแฮนด์ด้วยการใช้สะโพกเป็นจุดหมุน อย่าให้หลังค่อม
- ดื่มน้ำทุก 15 นาที น้ำหนึ่งกระติก(เล็ก)ควรจะหมดในเวลาหนึ่งชั่วโมง
- เพื่อป้องกันอาการเดินขาถ่าง ถ้าหาวาสลินได้สะดวก(ซื้อได้ตามร้านขายยาแผนปัจจุบันทั่วไป) ก็จัดการทาให้ทั่วขาหนีบ แล้วค่อยใส่กางเกง
- หลังจากการขี่จักรยานทุกครั้งให้รีบอาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้า กางเกงจักรยานที่เพิ่งใช้ให้ซักทันที อย่าทิ้งข้ามวันข้ามคืน ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคซักด้วยก็ดี แล้วตากให้แห้งสนิท(ไม่ควรตากแดด)ก่อนเก็บเสมอ

ไว้ผ่านบทเรียนแรกแล้ว ค่อยมาต่อบทเรียนที่สองกัน เดือนหน้าแล้วกันน่ะคร้าบ..

วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

พาไปปั่นจักรยาน..ก่ะพี่เสือกัน..

ทริปนี้ชิวล์ๆๆ คับ..


แนะนำสมาชิกอ่ะ..เสือติ๊ก hs9wkq
เสือเทพ hs9jcp, เสือเล็ก hs9zeb
เสือจิตร hs9xon,เสือสน hs9ucu(คนที่ไม่มีในรูปอ่ะ..อิอิ)


เริ่มกันเลยจร้า..


เริ่มหล๊ะ..เคียดๆ !!! อีกไกลไหมหวา


ตัวดูดอ่ะ..ครับ..ชำนาญนัก


พี่เสือ..เหลืองอ่ะ..


นานๆๆ ได้เข้ากล้อง ขอสักรูปน่ะ



ต้องไปทางนู้น...น..อ่ะ


หถ้า...มั่งเห้ย..เว้อ


ที่มาวันนี้ก้อเพราะคนนี้หล๊ะ..อิอิ


เจอสาวเป็นต้องโชว์..น่ะ..


ขากลับพี่เสือพาลุยดินแดงนิดหน่อย

วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

VR_ลูกพระธาตุควนมีด ช่วยน้ำท่วมหาดใหญ่




ที่บ้านนอนบนถนนม่ะเป็นไร แต่หาดหญ่าย...ต้องช่วยจร้า..อิอิ..

วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

hs9fsn ย้ายไปรับตำแหน่ง ผอ.โรงเรียนบ้านป่าโอน อ.เทพา: 19 พ.ย.53

รับตำแหน่งเรียนร้อยแล้วครับ
รองผอ.อารี..มอบดอกไม้ต้อนรับ
นร.ร.ร.บ้านป่าโอน...ต้อนรับ
ผอ.เนียบจังหู
ประธานกรรมการสถานศึกษากล่าวต้อนรับ
ผอ.สมชัย อ่อนแก้ว มอบของที่ระลึก
ผอ.นิยม ชูชื่น จาก วชช.เทพา มอบของที่ระลึก
ผอ.ช่วงชัย พีระพัฒน์  มอบของที่ระลึก
โต๊ะอีหม่ามมอบของที่ระลึก
ผอ.บ้านป่าโอน กล่าวคำสุนทรพจน์
ฟังผอ.ป่าโอนโม้จนจนเกือบหลับ
และแล้วเวลาที่ทุกคนรอคอยก็มาถึง
ภูมิทัศน์ส่วนหนึ่งของโรงเรียน

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

น้ำท่วมสงขลา_53

2 พฤศจิกายน 2553



น้ำท่วม อ.จะนะ
คืนนี้นอนบนถนนน่ะ พี่เล็ก


น้ำท่วม อ.หาดใหญ่
พี่ๆนักวิทยุสมัครเล่นจ๋า บ้านหนูน้ำลดยังจ๊ะ..หนูอยากกลับบ้าน