พ่อของแผ่นดิน

พ่อของแผ่นดิน

วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

HS1A

นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงใช้เครื่องวิทยุสื่อสารเพื่อการสดับตรับฟังข่าวสารและทุกข์สุขของพสกนิกรและพระราชทานความช่วยเหลืออย่างทันท่วงที
ปรากฏว่ามีอยู่บ่อยครั้งที่การติดต่อสื่อสารทางวิทยุของพระองค์มิได้รับความสะดวกเท่าที่ควร
เนื่องจากคลื่นวิทยุในย่านความถี่ทรงใช้งานถูกรบกวนพระองค์จึงทรงสนพระทัยเป็นพิเศษที่จะค้นหาต้นเหตุของการรบกวนเพื่อจะได้กำหนดมาตรการป้องกันแก้ไขให้ถูกต้อง

การรบกวนของเครื่องวิทยุ
นอกจากจะเกิดจากการผสมคลื่นระหว่างกันแล้วยังอาจมีการรบกวนที่เกิดจากคลื่นวิทยุของสถานีอื่นที่ทำการส่งด้วยขนาดความถี่เดียวกันหรือ Jamming
ซึ่งมีทั้งโดยเจตนาและไม่เจตนาและมาตรการที่จะต้องนำมาแก้ไขการรบกวนในลักษณะดังกล่าว
จำเป็นจะต้องสืบหาต้นตอคือ สถานีวิทยุที่ส่งคลื่นมารบกวนให้ได้ โดยใช้เทคนิคการหาทิศวิทยุ
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเข้าพระทัยอย่างลึกซึ้งถึงหลักการและเทคนิคในการหาทิศวิทยุเป็นอย่างดี


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงปฏิบัติการหาทิศวิทยุร่วมกับพลตำรวจตรี สุชาติ เผือกสกนธ์
โดยทรงใช้อุปกรณ์ตรวจสอบที่มีอยู่ในขณะนั้น ซึ่งยังไม่ทันสมัยเช่นในปัจจุบัน ได้แก่

* เครื่องรับวิทยุที่ทรงใช้เฝ้าฟัง
* เครื่องวัดความแรงของสัญญาณวิทยุ (Radio Field Strength Meter)
* สายอากาศชนิดทิศทางเดียว (Unidirectional Antenna) แบบ "ยากิ" (Yagi) และแบบ
"ล็อกพิเรียดิก" (Log Periodic)
* แผนที่เขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียงขนาดต่างๆ และ
* เครื่องมือสื่อสารระหว่างหน่วยปฏิบัติการร่วมได้แก่เครื่องรับ-ส่งวิทยุสื่อสารข่ายพิเศษ
เครื่องโทรศัพท์ และเครื่องเทเล็กซ์(โทรพิมพ์)

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติการตรวจสอบค้นหาสถานีวิทยุที่ส่งคลื่นเข้ามารบกวนหลายครั้ง และหนึ่งในจำนวนนั้นคือ การค้นหาทิศวิทยุ เมื่อเครือข่าย "ปทุมวัน"ได้ถูกสถานีวิทยุแห่งหนึ่งส่งคลื่นเข้ามารบกวนมีความแรงมากจนไม่สามารถติดต่อกับสถานี วิทยุลูกข่ายทั้งที่เป็นสถานีประจำที่และเคลื่อนที่ได้เป็นเวลานานและต่อเนื่อง การสื่อสารในข่ายนี้ต้องหยุดชะงักโดยสิ้นเชิง สร้างความโกลาหลให้แก่ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างยิ่ง


เมื่อความทราบถึงพระกรรณ การปฏิบัติการตรวจสอบและหาทิศวิทยุจึงเริ่มขึ้นเมื่อเวลาใกล้ค่ำ
โดยเริ่มจากการตรวจหาทิศวิทยุของสถานีประจำที่
และทรงพบจุดพิกัดโดยประมาณของสถานีที่ส่งคลื่นวิทยุมารบกวน โดยคาดว่าจะอยู่แถวอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงรับสั่งให้นำสถานีตรวจสอบฯ
เคลื่อนที่ออกปฏิบัติการมุ่งไปสู่ทิศทางดังกล่าว ในระหว่างเดินทาง ได้มีการตรวจสอบพิกัดเป็นระยะๆ
เพื่อให้เกิดความแน่ใจว่าได้เดินมาตามเส้นทางที่ถูกต้องแล้วและได้มาถึงที่หมายในเวลาใกล้เที่ยงคืน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชกระแสให้ตรวจสอบความแรงของสัญญาณและใช้สายอากาศหาทิศที่นำไปเพื่อตรวจ สอบทิศทางด้วย ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า ความแรงของสัญญาณวิทยุที่วัดได้ ณ จุดที่ทำการตรวจสอบจุดนี้กลับมิได้สูงสุดตามที่คาดคิด เครื่องอุปกรณ์หาทิศยังคงแสดงจุดและทิศทางชี้ไปตามเส้นทาง กรุงเทพฯ-ชลบุรี เพื่อจะให้ต้องติดตามค้นหาต่อไป แต่โดยที่ขณะนั้นเวลาได้ล่วงเลยไปจนใกล้รุ่งแล้ว พระองค์ท่านจึงรับสั่งให้ระงับการค้นหาไว้ชั่วคราว โดยได้รับสั่งว่า "หากจะ ว ๔ (ปฏิบัติการ) ให้ได้ผลจำเป็นจะต้องเปิดสถานีประจำที่บางเขน ทำงานร่วมอีกสถานีหนึ่ง
จุดตัดของสามสถานีที่ปฏิบัติการร่วมกันจึงจะแน่นอนยิ่งขึ้น"


แนวกระแสพระราชดำรินี้ทำให้ต้องเปลี่ยนแผนปฏิบัติการใหม่ในวันรุ่งขึ้นโดยมีการปฏิบัติงานของสถานีตรวจสอบ ฯ พร้อมกัน ๓ สถานี คือ สถานีประจำที่ ๒ สถานี และสถานีตรวจสอบเคลื่อนที่
ออกไปตรวจหาตามเส้นทางกรุงเทพฯ-ชลบุรีในวันรุ่งขึ้น

ในที่สุดก็สามารถค้นพบสถานีวิทยุที่ส่งคลื่นรบกวนได้เป็นสถานีวิทยุของส่วนราชการหนึ่ง
ตั้งอยู่บนยอดเขาสูงก่อนเข้าตัวเมืองชลบุรีเป็นการรบกวนที่ไม่ได้ตั้งใจแต่เกิดขึ้นเนื่องจากความเสื่อมของอุปกรณ์ภายในเครื่องซึ่งทำหน้าที่สร้างความถี่วิทยุ (Oscillator)
เป็นเหตุให้คลื่นวิทยุที่แผ่กระจายออกไปในอากาศมีความถี่คลาดเคลื่อนไป
และบังเอิญไปเท่ากับความถี่ที่ใช้ในข่ายการสื่อสารของกรมตำรวจพอดี
เมื่อได้มีการติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงานแล้ว การรบกวนก็สิ้นสุดไป


---------- จบเรื่อง HS1A (ในหลวง) ทรงปฏิบัติการหาทิศวิทยุ -------

ต่อด้วยความน่าภาคภูมิใจ

ทำไมต้อง HS  ????
ประเทศที่ขอ Prefix ได้ในช่วงเวลาใกล้ๆ กับ ประเทศไทย ก็มักจะเลือกสัญญาณเรียกขานที่บ่งถึงประเทศตัวเอง

เช่น ญี่ปุ่น หรือ เจแปน ได้ JA ส่วนเยอรมันซึ่งเรียกตัวเองว่า ดอยช์แลนด์ ก็ได้ DL
แล้วคำว่า HS ที่นำหน้าสถานีของประเทศไทยนั้นหมายความว่าอย่างไร ท่านอาจารย์อุดม จะโนภาษ เขียนไว้ว่า

"เรื่องนี้ พระวรวงค์เธอพระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร ไชยา ซึ่งเป็นโอรสของเสด็จในกรม กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เล่าให้ผมฟังว่า ในขณะนั้นยังมีอักษรอื่นก่อนตัว HS ที่ทรงเลือก อักษร HS เพราะจะให้มีความหมายว่า
" His Majesty The King Of SIAM " ในสมัยนั้นประเทศไทยยังเรียกว่า SIAM อยู่
เวลาเรียกขานทางวิทยุทีหนึ่งก็จะได้เป็นการถวายความเคารพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประเทศไทยจึงมีสัญญาณเรียกขาน ว่า HS ตั้งแต่บัดนั้นมา สถานีโทรทัศน์ เช่น สถานีโทรทัศน์กองทัพบก มีสัญญาณเรียกขานทางวิทยุว่า HSATV ฯลฯ"


ใครที่มีสัญญาณเรียกขานที่ขึ้นต้นด้วย HS ขอให้ภูมิใจและรักษาไว้ให้ดีด้วยนะคะ

** เนื้อหานี้คัดลอกมาจากหนังสือ "คู่มือคนรักวิทยุ" หน้าที่ 148

ความถี่วิทยุสื่อสารที่ควรทราบ


วิทยุสื่อสารนั้นมีหลายประเภท จำแนกง่ายๆดังนี้
วิทยุสื่อสารย่านความถี่ 144-146 Mhz. ย่านความถี่วิทยุสมัครเล่น ได้รับความนิยมทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ มีการรวมตัวเป็นกลุ่ม ชมรม อยู่แทบทุกจังหวัด ผู้มีสิทธิ์ใช้ต้องได้รับใบอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถติดตั้งในรถยนต์ได้โดยการติดตั้งสายอากาศนอก เพื่อเพิ่มความสามารถในการรับ-ส่งสูง เช่น 40-50 กม.บางครั้งอาจจะติดต่อได้ข้ามจังหวัดเลยทีเดียว ตัวเครื่องขนาดพกพา (Handy) ในรูป สามารถรับส่งระหว่างเครื่องได้ 1 ถึง 7-8 กม.โดยประมาณ แล้วแต่สภาพพื้นที่


วิทยุสื่อสารความถี่ 245 Mhz. เครื่องสีแดง เป็นความถี่ที่ได้รับความนิยมรองลงมา จัดเป็นความถี่ประชาชน (CB-Citizen Band) ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาตเหมือนกับย่าน 144-146 Mhz. แต่เครื่องที่ใช้ต้องถูกกฎหมาย ย่านความถี่นี้กำลังได้รับความนิยมทั่วไปในทุกภูมิภาคของประเทศไทย เพราะบุคคลทั่วไปสามารถซื้อหามาใช้ได้ สภาพสวย ความแรงของสัญญาณสูงรับ-ส่งได้ไกล 1-10 กม.(แล้วแต่พื้นที่) สามารถติดตั้งในรถยนต์ได้ โดยใช้สายอากาศเพิ่มเติม เพิ่มขีดความสามารถในการรับส่งได้หลายสิบกิโลเมตร




วิทยุสื่อสารความถี่ 78 Mhz. เครื่องสีเหลืองที่มีการโฆษณาทางโทรทัศน์เมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว ชัดมั๊ย ชัดเจน อะไรอย่างนั้น ถ้าจำไม่ผิด ไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าใดนัก แต่ก็ยังมีผู้ใช้จำนวนหนึ่ง การใช้งานเหมือนกับย่าน 245 Mhz.

วิทยุสื่อสารความถี่ 27 Mhz. เป็นวิทยุในย่านความถี่ CB ที่เคยได้รับความนิยมมากในบางพื้นที่ เช่น กรุงเทพฯ,ภูเก็ต แต่ไม่อนุญาตให้ติดตั้งสถานี (ที่บ้าน,รถยนต์)ได้ ความสามารถในการรับส่งไม่มากนัก แต่ถ้าหากติดตั้งสายอากาศนอก (ซึ่งผิดกฎหมาย)จะรับส่งได้ไกลทีเดียว จึงมีผู้ฝ่าฝืนและถูกจับกุมอยู่เนืองๆ ปัจจุบันมีบางคนหันมาใช้ย่าน 245 Mhz. แทน

วืทยุสื่อสารความถี่ 168 Mhz. เป็นเครื่องสีดำ มีทั้งแบบที่สามารถตั้งความถี่ได้เองและแบบโปรแกรมความถี่ โดยจะกำหนดให้ใช้ในกิจการสาธารณประโยชน์ สาธารณกุศล จะเห็นได้จากเป็นความถี่ที่หน่วยกู้ภัยต่างๆใช้กัน

ส่วนนอกเหนือจากความถี่ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ก็จะถูกจัดสรรให้ใช้ในกิจการต่างๆกันออกไป

วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ชาววีอาร์ร่วมปลูกป่่าต้นน้ำ..อ.สะเดา

รวมกลุ่มก่อนเดินทางซ่ะหน่อย.. hs9JCP ได้กระเป๋า E23BBD ได้กระเป๋า HS9OUE ได้รถ อ่ะ

วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เจอ..เลยเอามาฝากจร้า...


สายอากาศไดโพลแบบมือใหม่ ความถี่ 145 MHz (0 dBd)
สาย อากาศไดโพลเป็นสายอากาศประเภทกึ่งรอบตัว โดยจะมีความแรงของสัญญาณด้านหนา มากกว่าด้านหลัง ถ้าเป็นแบบ1 สแต็กไม่มีเสากลางจะไม่มีเกนขยาย ( 0 dBd ) แต่ถ้าเราใส่เสากลางเพื่อทำการสะท้อนสัญญาณจะได้เกนขยายเพิ่มขึ้นเป็น 1.5 dBd หรือถ้านำมาสแต็กกันเป็น 2 สแต็กก็จะได้เกนขยายเพิ่มขึ้นเป็น 3 dBd ถ้า 4 สแต็กก็จะได้เกนขยายเป็น 6 dBd ถ้ายิ่งสแต็กกันเพิ่มขึ้นก็ยิ่งจะได้เกนขยายเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ
ถึง สายอากาศไดโพล1สแต็กจะไม่มีเกนขยายแต่เมื่อเรานำไปติดตั้งในที่สูงก็จะทำให้ สามารถติดได้ระยะทางที่ไกลขึ้น หรือมีประสิทธิภาพมากกว่าเสาสไลด์หรือเสายางอย่างแน่นอน และที่สำคัญวิธีการทำก็ง่ายกว่าสายอากาศสลิมจิมหรือสายอากาศประเภทเจโพลอีก ด้วย
collinear dipole antenna 145 mhz
รูปภาพสายอากาศไดโพลแบบมือใหม่ย่านความถี่ 145 MHz
 
easy dipole 1 stack 145 mhz
รูปภาพโครงสร้างของสายอากาศไดโพลแบบมือใหม่ ความถี่ 145 MHz
 
dipole antenna
รูปภาพการประกอบและจุดต่อของสายอากาศไดโพลแบบมือใหม่
 
 
ถ้าเราต้องการให้สายอากาศต้นนี้มีเกนขยายเพิ่มเป็น 1.5 dBd ก็ให้เราเพิ่มท่ออะลูมิเนียม( เสากลาง ) เขาไปในบริเวณส่วนบนโดยให้มีระยะห่างจากก้่านไดโพลส่วนบนประมาณ 9-10 ซม. และให้ยากกว่าก้านบนประมาณ 20 ซม. และอย่าลืมเพิ่มท่ออะลูมิเนียมเข้าไปในส่วนล่างด้วยเช่นกัน ดังในรูปด้านล่าง
easy antenna dipole 1 stack 145mhz
รูปภาพสายอากาศไดโพล 1 สแต็กแบบมือใหม่ความถี่ 145 Mhz เกนขยาย 1.5 dBd หรือ 4 dBi
 
หมายเหตุ
สาย อากาศต้นนี้ถ้าประกอบได้ตามรูปแบบโครงสร้างด้านบนจะได้ค่า SWR ไม่เกิน 1:1.5 สามารถต่อสายนำสัญญาณส่งออกอากาศได้ทั้นที ส่วนสายเฟสถ้าไม่อยากชื้อใหม ่ก็ให้หาเอาสายนำสัญญาณของที่วีเรามาทำก็ได้ไม่ว่าจะเป็นสีขาวหรือสีดำก็ได้ ครับแต่ต้องเป็นสายกลม ( RG6 )
ขอให้เพื่อนๆจะมีความสุขกับกันสนทนา
 
QRU73
E20LFW ( e20lfw@gmail.com)
10 สิงหาคม 2552
 

เชิญชวนสมาชิกร่วมปลูกป่าการกุศล.





เนื่องจากวันที่ 25 ต.ค.55 นี้..ทางจังหวัดได้จัดงานปลูกป่าการกุศล ณ ป่าต้นน้ำ อ.สะเดา..จึงอยากขอความร่วมมือเพื่อนสมาชิกที่มีเวลาว่างมาร่วมงานกันในวันเวลาดังกล่าว...รายละเอียดจะแจ้งทางความถี่อีกทีน่ะค้าบ...